วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559




ภาพที่ 1 สัญลักษณ์วันเอดส์โลก
ที่มา (คณะทำงานด้านสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์โรคเอดส์. 2551)


โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อๆ ว่า เชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่างๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด การเรียนรู้วิธีในการป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับเชื้อเอดส์ ไม่ใช่ที่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะทุกวันที่เราใช้ชีวิตอยู่บนโลก และพบเจอกับบุคคลอื่นๆมากมาย เราไม่อาจรับรู้ได้ว่า คนที่เดินสวนทางกับเรามีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกายหรือไม่ เพราะวิทยาการทางการแพทย์ในสมัยนี้ สามารถปกปิดอาการป่วยจากโรคเอดส์ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น จะเป็นการดีกว่า ถ้าเรารู้จักการป้องกันตัวเองด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตัวคุณเอง สมัยก่อนผู้ที่ติดเชื้อมักจะเป็นพวกรักร่วมเพศ หรือฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อHIV พบได้ใน วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552)


วิธีการป้องกันเอดส์ที่ได้ผลดีที่สุด ก็คือ การไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำเช่นนี้ได้ ทำให้จำเป็นต้องมีวิธีในการป้องกันขณะที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตัวเอง การป้องกันระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่จะต้องป้องกันมากน้อยแค่ไหนจึงจะทำให้มั่นใจว่า การมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งจะปลอดภัยไร้เชื้อ HIVการสวมถุงยางอนามัย เป็นวิธีขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรทำทุกครั้งเมื่อคิดจะมีเพศสัมพันธ์ ถุงยางที่ทำจากยาง latex condom หรือ dental dam ถือเป็นวัสดุที่เหมาะสมต่อการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ดี แต่ถ้าหากคุณเป็นคนแพ้ยาง latex ก็ให้ใช้ถุงยางชนิด polyurethane แทน นอกจากการเลือกใช้ชนิดของถุงยางแล้ว ก็ยังต้องเรียนรู้วิธีใช้ถุงยางที่ถูกต้องด้วย ไม่ควรอย่างยิ่งกับการใช้สารหล่อลื่นที่เป็นไขมัน เพราะสารพวกนี้จะทำให้เกิดถุงยางเกิดโอกาสรั่วได้สูง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหรือทางปาก เพราะก็เป็นอีกความเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อ HIV ได้ไม่น้อยเลยเพียงแค่การสวมถุง อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันได้ร้อยเปอร์เซนต์  การสวมถุงมือก็ถือเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญเวลาที่ต้องสัมผัสกับน้ำหลั่งของคู่นอน เนื่องจาก หากเรามีบาดแผลเปิดที่บริเวณผิวหนัง และไม่ได้ป้องกันอย่างเต็มที่ ก็จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ได้ นอกจากนี้ หลังจากถอดถุงมือแล้ว ก็ควรที่จะล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจในเรื่องความสะอาดให้มากที่สุด (นันทา  เลียววิริยะกิจ, 2553)



ภาพที่ 2 การพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์
ที่มา (กองโรคเอดส์ กระทรวงสาธารณสุข. 2537)


          การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นแนวทางแห่งความเสี่ยงที่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ได้ง่าย รวมไปถึงการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ก็เสี่ยงเช่นเดียวกันต่อการได้รับเชื้อ HIV ดังนั้น หากเป็นไปได้จึงควรเข้ารับการบำบัดเพื่อหยุดยาเสพติด และเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน ส่วนการเข้ารับการฉีดยาหรือเข้ารับการบริจาคเลือดทุกครั้ง คุณก็ต้องมั่นใจว่า พยาบาลได้ใช้เข็มฉีดยาอันใหม่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วอย่างดี เพราะการใช้เข็มร่วมกัน เท่ากับเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคที่คนรับไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัวเลยแม้แต่น้อยนอกเหนือจากเข็มฉีดยาแล้ว การไม่ใช้ของมีคม เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น ร่วมกับผู้อื่น ก็เป็นอีกแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ดี เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเกิดบาดแผลบนผิวหนังของเรา ซึ่งเลือดที่ติดมาก็เป็นต้นเหตุแห่งการเชื่อมโยงเชื้อโรคจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ 


สารคัดหลั่งในที่นี้รวมตั้งแต่ น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ และสิ่งขับถ่ายต่างๆ เพราะสารเหล่านี้ล้วนมีโอกาสที่เชื้อเอดส์จะปะปนออกมาได้ การบ้วนน้ำลายหรือเสมหะจึงควรใช้ภาชนะรองรับที่สามารถนำไปทิ้งหรือทำความสะอาดได้โดยสะดวก ส่วนการเข้าห้องน้ำก็ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย ต่างๆเปรอะเปื้อนพื้น โถส้วม หรือบริเวณโดยรอบได้ แต่ในกรณีที่ท่านใดบังเอิญไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งเหล่านี้เข้า ก็ให้รีบทำความสะอาดเนื้อตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที ซึ่งเสื้อผ้าที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งเหล่านี้ ก็ควรนำไปซักให้สะอาด ก่อนจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป (ศุภชัย ฤกษ์งาม, 2550)



ภาพที่ 3 กลุ่มอาการภูมคุ้มกันเสื่อม
ที่มา (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2552)


          ทางการแพทย์มีประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรคโดยศึกษาในเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ถูกเข็มตำ พบว่าหากให้ AZT หลังถูกเข็มตำจะสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ 80 จากความรู้นี้สามารถนำมาใช้กับการสัมผัสโรคHIVโดยทางเพศสัมพันธ์ ก็น่าจะให้ยาป้องกันได้ การป้องกันดีที่สุดคือไม่มีเพศสัมพันธ์ การใส่ถุงยาง การมีเพศสัมพันธ์แบบ safer sexual practices หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกันไม่ว่าทางทวารหรือทางปกติ oral sex กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือกลุ่มเสี่ยงเช่นผู้ที่ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ควรจะได้รับยาป้องกันภายใน 3 วันหลังสัมผัส และหากท่านทราบว่าตัวเองติดเชื้อ HIV และไปร่วมเพศกับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อท่านต้องแจ้งให้คู่ขาทราบภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อที่คู่ขาจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ HIV


          ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่แทรกซ้อนซึ่งไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะผู้ป่วยขาดภูมิต้านทาน และมักเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อ แต่หากรู้จักวิธีป้องกันตนเองแล้ว เช่น รักเดียวใจเดียว ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ขอรับบริการปรึกษาเรื่องโรคเอดส์ก่อนแต่งงาน และก่อนตั้งครรภ์ทุกครั้ง ไม่ดื่มเหล้าและงดใช้สารเสพติดทุกชนิด ก่อนรับการถ่ายเลือด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่มีเชื้อโรคเอดส์ อย่าใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ติดยาเสพติดขณะนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้ เป็นเพียงยับยั้ง ไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาวไปอีกระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่สำส่อน มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม   ไม่หลายใจ มีเพศสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาตนเท่านั้น  ไม่ประมาท ที่จะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ HIV ก็จะน้อยลงด้วย (มัทนา หาญวินิชย์, 2552)





บรรณานุกรม

ศุภชัย ฤกษ์งาม. (2550)แนวทางป้องกันการติดเชื้อจากการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข. [online].Available: http://hawkidow.blogspot.com/2015/01/blog-post_38.html. [2559,มิถุนายน 9]

มัทนา หาญวินิชย์. (2552). การรักษาด้วยวิธีการปัจจุบันสำหรับโรคติดเชื้อที่พบบ่อย. [online].Available: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=901#15. [2559,มิถุนายน 9]

นันทา  เลียววิริยะกิจ. (2553). การป้องกันและการลดผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวีของบิดามารดาที่มีต่อเด็ก: การวิจัยแบบมีส่วนร่วม. [online].Available: http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/HIV/prevention.htm#.V2ARf7t94dU. [2559,มิถุนายน 9]

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). คู่มือโรคเอดส์. [online].Available: http://www.clotho-web.com/เอชไอวี-รู้ไว้-ป้องกันได้. [2559,มิถุนายน 9]



ที่ปรึกษาบทความ : ผศ.ปวีณา สปิลเลอร์
                          คุณวรโชติ  ลมุดทอง

จัดทำโดย : นางสาวธนภรณ์ บุตรพุ่ม  รหัสนักศึกษา 5711011809023
                นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ
                สาขาเลขานุการทางการแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น