ภาพที่ 1 สัญลักษณ์วันเอดส์โลก
ที่มา (คณะทำงานด้านสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์โรคเอดส์. 2551)
โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS
: Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า
ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อๆ ว่า เชื้อเอชไอวี
โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค
ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง
จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่างๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า
โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต
เชื้อรา ฯลฯ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด การเรียนรู้วิธีในการป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับเชื้อเอดส์
ไม่ใช่ที่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะทุกวันที่เราใช้ชีวิตอยู่บนโลก
และพบเจอกับบุคคลอื่นๆมากมาย เราไม่อาจรับรู้ได้ว่า คนที่เดินสวนทางกับเรามีเชื้อ HIV
อยู่ในร่างกายหรือไม่ เพราะวิทยาการทางการแพทย์ในสมัยนี้
สามารถปกปิดอาการป่วยจากโรคเอดส์ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น จะเป็นการดีกว่า
ถ้าเรารู้จักการป้องกันตัวเองด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตัวคุณเอง สมัยก่อนผู้ที่ติดเชื้อมักจะเป็นพวกรักร่วมเพศ
หรือฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อHIV พบได้ใน
วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป
ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท
โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ( คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552)
วิธีการป้องกันเอดส์ที่ได้ผลดีที่สุด ก็คือ
การไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำเช่นนี้ได้
ทำให้จำเป็นต้องมีวิธีในการป้องกันขณะที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตัวเอง
การป้องกันระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
แต่จะต้องป้องกันมากน้อยแค่ไหนจึงจะทำให้มั่นใจว่า
การมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งจะปลอดภัยไร้เชื้อ HIVการสวมถุงยางอนามัย
เป็นวิธีขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรทำทุกครั้งเมื่อคิดจะมีเพศสัมพันธ์
ถุงยางที่ทำจากยาง latex condom หรือ dental dam ถือเป็นวัสดุที่เหมาะสมต่อการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ดี
แต่ถ้าหากคุณเป็นคนแพ้ยาง latex ก็ให้ใช้ถุงยางชนิด polyurethane
แทน นอกจากการเลือกใช้ชนิดของถุงยางแล้ว ก็ยังต้องเรียนรู้วิธีใช้ถุงยางที่ถูกต้องด้วย
ไม่ควรอย่างยิ่งกับการใช้สารหล่อลื่นที่เป็นไขมัน
เพราะสารพวกนี้จะทำให้เกิดถุงยางเกิดโอกาสรั่วได้สูง นอกจากนี้
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหรือทางปาก
เพราะก็เป็นอีกความเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อ HIV ได้ไม่น้อยเลยเพียงแค่การสวมถุง
อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันได้ร้อยเปอร์เซนต์ การสวมถุงมือก็ถือเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญเวลาที่ต้องสัมผัสกับน้ำหลั่งของคู่นอน
เนื่องจาก หากเรามีบาดแผลเปิดที่บริเวณผิวหนัง และไม่ได้ป้องกันอย่างเต็มที่
ก็จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ได้ นอกจากนี้
หลังจากถอดถุงมือแล้ว ก็ควรที่จะล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้มั่นใจในเรื่องความสะอาดให้มากที่สุด ( นันทา เลียววิริยะกิจ, 2553)
ภาพที่ 2 การพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์
ที่มา (กองโรคเอดส์ กระทรวงสาธารณสุข. 2537)
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
เป็นแนวทางแห่งความเสี่ยงที่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ได้ง่าย
รวมไปถึงการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ก็เสี่ยงเช่นเดียวกันต่อการได้รับเชื้อ HIV
ดังนั้น หากเป็นไปได้จึงควรเข้ารับการบำบัดเพื่อหยุดยาเสพติด
และเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน ส่วนการเข้ารับการฉีดยาหรือเข้ารับการบริจาคเลือดทุกครั้ง
คุณก็ต้องมั่นใจว่า พยาบาลได้ใช้เข็มฉีดยาอันใหม่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วอย่างดี
เพราะการใช้เข็มร่วมกัน
เท่ากับเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคที่คนรับไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัวเลยแม้แต่น้อยนอกเหนือจากเข็มฉีดยาแล้ว
การไม่ใช้ของมีคม เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น ร่วมกับผู้อื่น
ก็เป็นอีกแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ดี
เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเกิดบาดแผลบนผิวหนังของเรา
ซึ่งเลือดที่ติดมาก็เป็นต้นเหตุแห่งการเชื่อมโยงเชื้อโรคจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้
สารคัดหลั่งในที่นี้รวมตั้งแต่ น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ
และสิ่งขับถ่ายต่างๆ เพราะสารเหล่านี้ล้วนมีโอกาสที่เชื้อเอดส์จะปะปนออกมาได้
การบ้วนน้ำลายหรือเสมหะจึงควรใช้ภาชนะรองรับที่สามารถนำไปทิ้งหรือทำความสะอาดได้โดยสะดวก
ส่วนการเข้าห้องน้ำก็ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย ต่างๆเปรอะเปื้อนพื้น โถส้วม หรือบริเวณโดยรอบได้
แต่ในกรณีที่ท่านใดบังเอิญไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งเหล่านี้เข้า
ก็ให้รีบทำความสะอาดเนื้อตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที ซึ่งเสื้อผ้าที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งเหล่านี้
ก็ควรนำไปซักให้สะอาด ก่อนจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป ( ศุภชัย ฤกษ์งาม, 2550)
ภาพที่ 3 กลุ่มอาการภูมคุ้มกันเสื่อม
ที่มา (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2552)
ทางการแพทย์มีประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ
HIV หลังสัมผัสโรคโดยศึกษาในเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ถูกเข็มตำ
พบว่าหากให้ AZT หลังถูกเข็มตำจะสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ
80 จากความรู้นี้สามารถนำมาใช้กับการสัมผัสโรคHIVโดยทางเพศสัมพันธ์
ก็น่าจะให้ยาป้องกันได้ การป้องกันดีที่สุดคือไม่มีเพศสัมพันธ์ การใส่ถุงยาง
การมีเพศสัมพันธ์แบบ safer sexual practices หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง
สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกันไม่ว่าทางทวารหรือทางปกติ oral
sex กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือกลุ่มเสี่ยงเช่นผู้ที่ติดยาเสพติด
รักร่วมเพศ ควรจะได้รับยาป้องกันภายใน 3 วันหลังสัมผัส และหากท่านทราบว่าตัวเองติดเชื้อ
HIV และไปร่วมเพศกับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อท่านต้องแจ้งให้คู่ขาทราบภายใน
72 ชั่วโมงเพื่อที่คู่ขาจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ HIV
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้
การรักษาจึงเป็นการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่แทรกซ้อนซึ่งไม่ค่อยได้ผลนัก
เพราะผู้ป่วยขาดภูมิต้านทาน และมักเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อ
แต่หากรู้จักวิธีป้องกันตนเองแล้ว เช่น รักเดียวใจเดียว
ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
ขอรับบริการปรึกษาเรื่องโรคเอดส์ก่อนแต่งงาน และก่อนตั้งครรภ์ทุกครั้ง
ไม่ดื่มเหล้าและงดใช้สารเสพติดทุกชนิด ก่อนรับการถ่ายเลือด
ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่มีเชื้อโรคเอดส์
อย่าใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด
หรือร่วมกับผู้ติดยาเสพติดขณะนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้
เป็นเพียงยับยั้ง ไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาวไปอีกระยะหนึ่งเท่านั้น
ไม่สำส่อน มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม
ไม่หลายใจ มีเพศสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาตนเท่านั้น ไม่ประมาท
ที่จะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ HIV
ก็จะน้อยลงด้วย (มัทนา หาญวินิชย์, 2552)
บรรณานุกรม
ศุภชัย ฤกษ์งาม. (2550). แนวทางป้องกันการติดเชื้อจากการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข.
[online].Available: http://hawkidow.blogspot.com/2015/01/blog-post_38.html. [2559,มิถุนายน 9]
มัทนา หาญวินิชย์. (2552). การรักษาด้วยวิธีการปัจจุบันสำหรับโรคติดเชื้อที่พบบ่อย.
[online].Available: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=901#15.
[2559,มิถุนายน 9]
นันทา เลียววิริยะกิจ. (2553).
การป้องกันและการลดผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวีของบิดามารดาที่มีต่อเด็ก:
การวิจัยแบบมีส่วนร่วม. [online].Available: http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/HIV/prevention.htm#.V2ARf7t94dU.
[2559,มิถุนายน 9]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). คู่มือโรคเอดส์. [online].Available: http://www.clotho-web.com/เอชไอวี-รู้ไว้-ป้องกันได้. [2559,มิถุนายน 9]
ที่ปรึกษาบทความ : ผศ.ปวีณา สปิลเลอร์
คุณวรโชติ ลมุดทอง
จัดทำโดย : นางสาวธนภรณ์ บุตรพุ่ม รหัสนักศึกษา 5711011809023
นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ
สาขาเลขานุการทางการแพทย์